คลังความรู้ โรงพยาบาลแม่ลาว
งานวิจัยและพัฒนาเพื่อจัดการความรู้
โรงพยาบาลของชุมชน เพื่อสร้างสรรค์สุขภาวะอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน

ระดับค่า BMI อ้วนมาก / อ้วนระดับ 3

แย่แล้ว!! ถ้าคุณไม่ใช้คนออกกำลังกาย หรือนักเพาะกาย คุณอ้วนมากแล้ว (อ้วนระดับ 3) ค่าดัชนีมวลกายมีค่ามากกว่า 30

ข้อแนะนำ

เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น คุณต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว ถ้าอยากเปลี่ยนตัวเองให้กลับมามีรูปร่างสมส่วน โรคร้ายไม่ถามหา ต้องเริ่มใส่ใจเรื่องโภชนาการ และออกกำลังกายแล้ว โภชนาการมีส่วนสำคัญ ที่จะช่วยให้ลด และควบคุมน้ำหนักได้ดีขึ้น สำหรับคนที่คิดว่าตัวเองกินน้อย กินอาหารปกติแต่ยัง อ้วนมากๆ ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับรักษาภาวะโรคอ้วน หรือถ้าอ้วนจากความเผลอเลอ กินดุ กินเก่ง ต้องควบคุมการกินอาหารให้ดี เลือกกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่งด ไม่อดอาหารมากจนเกินไป เพราะจะทำให้โหย หิวบ่อย และยอมแพ้ไปก่อน อาจลดปริมาณอาหารที่กินในแต่ละวันเล็กน้อยประมาณ 200 – 300 กิโลแคลอรี โดยค่าปริมาณพลังงานจากอาหารที่กินในแต่ละวันเฉลี่ยไม่ควรน้อยกว่า 1,000 – 1,200 กิโลแคลอรี หรือต้องไม่น้อยกว่าค่า BMR ของแต่ละคน

เลือกกินให้มากๆ ลดอาหารหวาน ของหวาน ขนม เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล งด หรือหลีกเลี่ยงของทอด อาหารไขมันสูง อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง อาหารแปรรูป เบเกอรี่ ขนมซองต่างๆ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อาหารเค็มจัด โซเดียมสูง

ไม่กินอาหารตามใจ ไม่กินอาหารแก้เครียด ไม่กินจุบจิบ พยายามเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ผัก – ผลไม้อ่อนหวาน เลือกข้าว – แป้งที่ขัดสีน้อย ธัญพืช เมล็ดพืช ถั่ว สำหรับเนื้อสัตว์ เลือกเนื้อสัตว์ส่วนที่มีไขมันต่ำ เนื้อส่วนอก ไข่ไก่ หรือ เนื้อสัตว์ที่ให้ไขมันดีอย่างเนื้อปลา เป็นต้น

2. ควรหมั่นเคลื่อนไหวร่างกาย ทำกิจวัตรประจำวันให้กระฉับกระเฉง ลุกขึ้นยืน เดินให้มาก และหากิจกรรมที่ช่วยให้ได้ขยับร่างกายมากขึ้น หากต้องการที่จะเริ่มการออกกำลังกาย ควรเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประเมินความพร้อมด้านสุขภาพ และร่างกาย เสียก่อน

เริ่มต้นออกกำลังกายด้วยกิจกรรมเบาๆ เหมาะสมกับสภาพร่างกาย โดยค่อยทำทีละน้อย แต่ทำอย่างสม่ำเสมอ เมื่อร่างกายแข็งแรงขึ้น จึงค่อยๆ ปรับโปรแกรมการออกกำลังกายให้เข้มข้นมากขึ้น หรือ ใช้เวลาการออกกำลังกายให้นานขึ้น เลือกกิจกรรมการออกกำลังกายที่ปะทะน้อย แรงกระแทกต่ำ อย่างการเดิน การเดินในน้ำ ยืนแกว่งแขน หรือกิจกรรมที่ไม่หักโหมจนเกินไป โดยพยายามตั้งเป้าหมายการออกกำลังกายให้ได้ 40 – 60 นาทีต่อวัน หรือจะแบ่งเป็นช่วงสั้นๆ ครั้งละ 10 – 20 นาที 2 – 3 ครั้งต่อวัน ก็ได้

3. ควรฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วยกิจกรรมเวทเทรนนิ่ง ที่ควบคุมโดยผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยให้การฝึกปลอดภัย ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ และอาการบาดเจ็บได้ การฝึกควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามความแข็งแรงของร่างกาย ไม่ฝืน ไม่หักโหม และเมื่อน้ำหนักตัวลดลง กล้ามเนื้อ ร่างกายแข็งแรงขึ้น จึงค่อยปรับเปลี่ยนโปรแกรมการฝึก ให้เข้มข้น หรือใช้เวลาในการออกกำลังกายมากขึ้น