เครื่องมือประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดของหัวใจหรือสมอง CVD Risk

เครื่องมือประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดของหัวใจหรือสมอง CVD Risk

ความเสี่ยงโรคหลอดเลือดของหัวใจหรือสมอง CVD Risk เป็นปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญเป็นลำดับต้นของประเทศไทย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนความรู้และค้นหามาตรการคัดกรองโเครื่องมือประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดของหัวใจหรือสมอง CVD Risk ในระดับประชากร โดยรวบรวมข้อมูลแนวทางการตรวจคัดกรองในประเทศไทย การศึกษาแนะนำให้ประเมินความเสี่ยงโดยรวมต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจด้วย RCVD Risk score ทุก ๑ ปี ในผู้ที่มีอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป พร้อมติดตามและประเมินผลการนำแบบประเมินไปใช้ในระดับประชากร เพื่อพัฒนาแบบประเมินให้มีความแม่นยำยิ่งขึ้น และควรพัฒนาแบบประเมินความเสี่ยงโดยรวมต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในอนาคต

โดยแบ่งกลุ่มระดับความเสี่ยงเป็น ๓ ระดับดังต่อไปนี้ คือ ๑.กลุ่มเสี่ยงน้อย ๒.กลุ่มเสี่ยงสูง ๓.กลุ่มเสี่ยงปานกลาง โดยมีรายละเอียดดังนี้
กลุ่มเสี่ยงน้อย
1.ให้คำปรึกษาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วย 3อ2ส (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ความเครียด และไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา) สุขภาพดีไม่มีขายอยากได้ต้องทำเอง และการจัดการตนเองอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
2.บันทีกการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยแบบบันทึก นคร2ส ทุก 6 เดือน
3.ติดตามประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองทุกปี

กลุ่มเสี่ยงปานกลาง
1.ให้คำปรึกษาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วย 3อ2ส (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ความเครียด และไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา) และการจัดการตนเองอย่าง
เข้มข้นต่อเนื่องสม่ำเสมอ
2.ติดตามประเมินปัจจัยเสี่ยงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทุก 3-6 เดือน
3.บันทีกการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยแบบบันทึก นคร2ส ทุก 3-6 เดือน
4.ให้ยาตามข้อบ่งชี้
5.ติดตามประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองทุก 6-12 เดือน

กลุ่มเสี่ยงสูง
1.ส่งพบแพทย์ให้คำแนะนำและให้ยาตามความเหมาะสม
2.บันทีกการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วย แบบบันทึก นคร2ส
3.ให้คำปรึกษาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วย 3อ2ส (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ความเครียด และไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา) และการจัดการตนเองอย่าง
เข้มข้นและเร่งด่วน
4.ติดตามประเมินปัจจัยเสี่ยงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทุก 1-3 เดือน
5.ติดตามประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองทุก 3-6 เดือน
6.ให้ยาตามข้อบ่งชี้
7.ถ้าตรวจพบความผิดปกติในข้อ 9 ให้รีบพบแพทย์ภายใน 1 วัน หรือรีบไปโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทันทีอย่างเร่งด่วน
8.ถ้าตรวจพบความผิดปกติในข้อ 10 ให้รีบไปโรงพยาบาลใกล้บ้านอย่างเร่งด่วน หรือโทรศัพท์แจ้งหมายเลข 1669 ภายใน 3 ชั่วโมง เพื่อได้การรักษาอย่างรวดเร็ว และลดความพิการที่เกิดขึ้น


นางพิชญ์ทิภา จันทร์บรรจง

ผู้เผยแพร่
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอวัดโบสถ์ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก